



เทศบาลเมืองกาญจนบุรี


ทำอย่างไรหยุดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในลูก
หลายๆคนมักถามว่าถ้าเราไม่อยากให้ลูกทำในพฤติกรรมบางอย่างเราจะต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้หมอมีเคล็ดลับดีๆมาฝากกันค่ะ
1.อย่าตอบสนองและสนใจ นี่เป็นพฤติกรรมที่ใช้มากที่สุด คือ เราต้องแยกแยะให้เด็กรู้ว่าพฤติกรรมที่ทำอยู่ถ้าไม่ดี จะไม่มีใครสนใจเขา เช่น เด็กร้องอาละวาด ดิ้นๆที่พื้น กรี๊ด โวยวาย หรือการเรียกร้องความสนใจ ส่งเสียงแปลกๆ ไม่ต้องไปสนใจ ไม่ต้องไปมองดู เด็กที่เกเรแกล้งเพื่อน แยกให้เขาอยู่ในมุมสงบ ให้รู้ว่่าทำแบบนี้ไม่มีคนยอมรับ เขาจะเรียนรู้ที่จะไม่ทำพฤติกรรมเช่นนั้นอีก ตรงข้ามถ้าเราเข้าไปพูดบอก เช่น หยุดเถอะลูกจ๋า หรือ ให้ของอะไรเพื่อให้เด็กเลิกพฤติกรรมนั้น นั่นก็ยิ่มทำให้เด็กรู้ว่าทีหลังถ้าอยากได้ของ หรือให้คนสนใจก็ให้ทำพฤติกรรมแบบนี้อีก
2.ให้เด็กทำไปเลยจนเหนื่อยและเมื่อยไปเอง แต่ต้องเป็นพฤติกรรมที่ไม่เป้นอันตราย ไม่เป็นพิษเป็นภัย เช่น เมื่อเรียกเด็กมากินข้าว แต่ไม่ยอมมากินเอาแต่เล่น ก็ไม่ต้องบังคับ เก็บอาหารไปเลย ถ้าจะกินต้องรอมื้อต่อไป เพราะเด็กส่วนใหญ่อยากที่ทราบค่ะ ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ แต่พอบอกให้ ทำไปเลยลูกเด็กจะหยุด เช่น ร้องไห้ ยิ่งปลอบให่เลิกจะยิ่งร้องดัง แต่ถ้าไม่สนใจรอให้หยุดเอง เดี๋ยวสักพักก็เงียบ เพียงให้เด็กรู้ว่า ถ้าสงบแล้วมาหาเราได้หรือเราเข้าไปหาเมื่อเขาเลิกพฤติกรรมไม่ดีนั้นๆ หรือเด็กบางคนกลับจากรร.ชอบพูดคำหยาบตามเพื่อน เราไม่สนใจเสีย บอกแค่ว่าคำพูดพวกนี้ไม่เพราะ เราไม่พูดกัน สักพักเด็กก็จะไม่พูด แต่หากเป็นพฤติกรรมที่อันตรายเราจะปล่อยเฉยๆแบบวิธีนี้ไม่ได้ค่ะ เช่น เล่นไฟ ต้องจับเด็กออกมาก่อน
3.ให้เด็กมีประสบการณ์เรียนรู้ด้วยตัวเอง อยากที่หมอบอกยิ่งห้ามเหมือนไปยุ ถ้าเป็นเรื่องที่พอให้เรียนรู้ได้นะคะ การลองผิดลองถูกเป็นเรื่องที่ดี เช่น บอกเด็กว่าเวลากินของร้อนๆต้องระวัง แต่ถ้าเด็กได้ลองกินน้ำอุ่นจัดดูสักครั้งก็จะเข้าใจ
4.อย่าไปหลอกเด็ก ต้องจริงใจ บอกอธิบายง่ายๆสั้นๆ อย่าหลอกหรือขู่ให้กลัวเด็กจะกลัวจนไม่กล้าทำอะไร
5.การลงโทษเมื่อทำผิด มีหลายวิธี เช่น งดในสิ่งที่เด็กชอบ เช่น ดูทีวี ออกไปเล่น การชดใช้ความผิดที่ทำ เช่น ทำความสะอาดบ้าน ทำงานเพิ่มขึ้น และควรเป็นสิ่งที่ทำความตกลงกันไว้ก่อนค่ะ
#หมอมินบานเย็น
picture credit: ou.org